วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

ความรู้เกี่ยวกับศาสนา

ความรู้เกี่ยวกับศาสนา
   ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง  แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการเกิดที่ต่างกัน   แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา  เพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม
๑)  ความหมายของศาสนา
   "ศาสนา"  มาจากศัพท์เดิมในภาษาสันสกฤตว่า  "ศาสน์"  ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า  "สาสน์"  แปลว่า  คำสั่งสอน  แยกเป็น คำสั่ง  อันหมายถึง  ข้อห้ามทำความชั่ว  ที่เรียกว่า ศีล หรือ วินัย และ คำสอน อันหมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี ที่เรียกว่า ธรรม  เมื่อรวมคำสั่งและคำสอนเข้าด้วยกันจึงหมายถึง ศิลธรรม คือ มีทั้งข้อห้ามทำความชั่ว และคำแนะนำให้ทำความดีอ่านเพิ่มเติม

พุทธสาวก พุทธสาวิกา

พุทธสาวก พุทธสาวิกา
พระอัสสชิเถระ เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้หนึ่งในกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาของท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนที่ได้รับเชิญไปทำนาย
พระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ ครั้งเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัญญพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในจำนวนพราหมณ์ 8 คนนั้นเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงได้ชักชวนท่านอัสสชิพร้อมสหาย ไปเฝ้าปรนนิบัติขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม และเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านอัสสชิพร้อมด้วยสหายได้พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปกตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปโปรด โดยแสดงธรรมเทศนาชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง 4อ่านเพิ่มเติม

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา

    1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม

      รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    - ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    - ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    - ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    - ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)

     นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    - เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
    - สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
    - สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
    - วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)อ่านเพิ่มเติม


วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา

ข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา
   พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนที่เป็นสภาวะกลาง คือ การปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางไม่ตึงหรือหย่อนต่อการปฏิบัติจนเกินไปเรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทา   ซึ่งมีความหมายว่า การปฏิบัติที่พอดีมีความสมเหตุสมผล ไม่ทำอะไรที่สุดโต่ง เช่น เคร่งครัดสุดโต่ง หรือหย่อนสุดโต่ง การพิจารณาปฏิบัติให้พอดีจากเหตุผลในสภาวะต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรม กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา และการพัฒนาชีวิตที่ดีงาม หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ค้นพบและกำหนดไว้เป็นสภาวะกลาง ๆ เช่น มรรค 8 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้